รากฟัน ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญมากๆ ของฟันนะคะ เพราะหากเราไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี ปล่อยปะละเลยให้เกิดฟันผุ แล้วไม่รีบเข้ามารักษาจนอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อรากฟัน จนอาจทำให้ต้องสูญเสียฟันจนต้องทำรากฟันเทียมทดแทนได้เลยนะคะ รักษารากฟันจึงมีความสำคัญมากค่ะ
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
การรักษารากฟัน คืออะไร
การรักษารากฟันนั้น ก็คือขบวนการรักษาและซ่อมแซมฟันที่ติดเชื้อ รากฟันอักเสบ จากอาการฟันผุทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน จากนั้นคุณหมอจะอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน ด้วยการทำครอบฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันนั้นกลับมาใช้งานได้ตามปกติค่ะ
สาเหตุของการรักษารากฟัน
สาเหตุของการรักษารากฟัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ฟันผุลึกทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน
- ฟันร้าว แตก หรือสึกจากการบดเคี้ยว หรือการนอนกัดฟัน
- ฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ทั้งที่เพิ่งเกิดหรือเกิดขึ้นมานานแล้ว
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เชื้อโรคลงไปสู่โพรงประสาทฟันหรือทำให้ฟันตายได้ หากไม่รีบรับการรักษารากฟัน อาจทำให้เกิดการสะสมของหนองในเนื้อเยื่อที่ปลายรากฟันบริเวณกระดูกขากรรไกร ทำให้สร้างความเจ็บปวด เกิดอาการบวม และเป็นหนองได้
อาการเมื่อรากฟันอักเสบ
5 สัญญาณเตือน ต้องรักษารากฟัน
- ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ :
อาการปวดฟัน บางครั้งอาจจะเป็นอาการปวดฟันเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากอาการปวดนั้น มีอาการอยู่เรื่อยๆ ปวดตุบๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการเช่นนี้ ไม่ควรเพิกเฉยนะคะ - ปวดฟันระหว่างกัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร :
ในระหว่างกัด เคี้ยวอาหาร ผลไม้หรือน้ำแข็ง แล้วรู้สึกปวดฟัน ปวดลึกจนถึงเหงือก ถือเป็นสัญญาณเตือนควรต้องเข้าพบทันตแพทย์แล้วเหมือนกันค่ะ - รู้สึกเสียวฟันมาก เวลาทานของร้อนและของเย็น :
รับประทานอาหารทั้งของร้อน และของเย็น เช่น น้ำชาร้อนๆ ไอศกรีมเย็นๆแล้วมีอาการเสียวฟันจิ๊ดขึ้นมาเลย เสียวมากจนไม่สามารถทนได้ - ปวดและเหงือกบวมจากอาการเหงือกติดเชื้อ: ฟันได้รับการกระทบกระแทกจนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
- ฟันมีรอยร้าว หรือมีอาการผุอย่างรุนแรงกว่าเก่า : เป็นสัญญาณว่าใกล้จะได้เวลารักษารากฟันเป็นที่แน่นอน เพราะส่วนใหญ่อาการแบบนี้หมายถึง ฟันแตก หรือฟันผุมากจนทะลุโพรงฟัน
การป้องกันรากฟันอักเสบ
- แปรงฟันให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง
- ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ ขวบคู่กับการแปรงฟันเพื่อ
- ทำความสะอาดบริเวณที่การแปรงฟันเข้าถึงยาก
- การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ลดเชื้อแบคทีเรีย
- ควรเข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก หรือควรเข้ารับการรักษารากฟัน ทันทีเมื่อมีอาการ ก่อนที่ฟันผุจะทะลุโพรงประสาท
แนวทางการรักษา
โดยทั่วไปนั้น หากเกิดฟันผุ ทันตแพทย์ทั่วไปจะทำการทำความสะอาดทั้งช่องปาก เช่น การขูดหินปูน ให้แก่คนไข้
แต่ในบางกรณี ถ้าทันตแพทย์ทั่วไปตรวจพิจารณาแล้วว่าคนไข้มีอาการปวดฟันมาก หรือมีประวัติการบาดเจ็บที่ฟันที่อาจส่งผลกระทบต่อรากฟัน หรือเนื้อในโพรงฟัน ทันตแพทย์ทั่วไปก็จะส่งตัวคนไข้เพื่อไปพบกับทันตแพทย์เอ็นโดดอนต์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน การรักษาคลองรากฟัน ให้ทำการรักษารากฟันต่อไป เพื่อช่วยรักษาฟันซี่นั้นๆ แทนการถอนฟันที่เป็นปัญหาหรือเสียหายทิ้งไป
ถอนฟัน หรือ รักษารากฟัน คุณหมอพิจารณาจากสาเหตุอะไร
การรักษารากฟันคุณหมอจะพิจารณาเป็นเคสๆไป ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียกินเนื้อฟันเข้าไปลึกเท่าไหร่ และมีแบคทีเรียมากแค่ไหน หากการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันไม่มากเกินกว่าการรักษา ก็จะสามารถรักษารากฟัน เพื่อช่วยเก็บรักษาฟันให้คงอยู่ในช่องปากต่อไปได้ โดยไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปจนต้องใส่ฟันปลอมค่ะ
การเตรียมตัวก่อนการรักษารากฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจประเมิน และพิจารณาแผนการรักษา ก่อนการลงมือรักษารากฟัน
- เอกซเรย์ฟันซี่ที่จะทำการรักษา เพื่อให้เห็นภาพของรากฟันบริเวณที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงพิจารณาว่ามีการติดเชื้อรอบๆ กระดูกบริเวณดังกล่าวหรือไม่
- จากนั้นทันตแพทย์จะเริ่มทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและรากฟัน โดยการขยายขนาดของบริเวณคลองรากฟัน รวมถึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรคให้แก่คนไข้
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
- การรักษารากฟันทันตแพทย์จะทำร่วมกับการฉีดยาชา โดยใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น จากนั้นกรอฟันเปิดช่องเพื่อนำส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ เส้นประสาทฟันที่ติดเชื้อหรือตายแล้วออกมา
- ทันตแพทย์จะทำการล้างทำความสะอาดคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยปกติการรักษารากฟันจะทำประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคและเนื้อฟันที่อักเสบออกหมดแล้ว
- ทำการอุดปิดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
- บูรณะตัวฟันด้วยวัสดุอุด หรือทำครอบฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
การครอบฟัน
การครอบฟัน คือการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย เช่น ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันมาก่อน ฟันแตก ฟันหัก โดยทันตแพทย์จะทำการกรอแต่งเนื้อฟันและทำการใส่ครอบฟันซี่นั้นทั้งซี่ เพื่อให้ฟันแข็งแรง สามารถกลับใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเดิม และยังช่วยตกแต่งรูปร่างของฟันให้สวยงามเหมือนฟันธรรมชาติได้อีกด้วยค่ะ
บทความอ่านประกอบ : ครอบฟัน มีกี่แบบ อยู่ได้นานไหม ทำที่ไหนดี ตอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การปฏิบัติตัวหลังจากการรักษารากฟัน
- ในช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกของการรักษารากฟัน มักพบอาการเจ็บตื้อๆ และปวดบ้างเป็นปกติ หากมีอาการรุนแรง หรือเจ็บปวดนานกว่านี้ควรรีบแจ้งให้ทันตแพทย์ที่รักษาทราบ
- หลังการรักษาควรงดรับประทานอาหาร จนกว่าอาการชาที่ปากจะหมดไป เพื่อป้องกันการกัดลิ้น หรือกระพุ้งแก้มโดยไม่ตั้งใจ
- ระมัดระวังในการบดเคี้ยวในฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันมาใหม่ๆ เพื่อลดโอกาสเกิดฟันแตกระหว่างที่ยังรักษาไม่เสร็จ
- สามารถรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันได้อย่างปกติ และควรทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
- โดยปกติการรักษารากฟันจะทำประมาณ 2-3 ครั้ง ดังนั้นหากว่าทันตแพทย์นัดวันรักษา คนไข้ควรมาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อเกินกว่าจะรักษา จนอาจจะทำให้ต้องถอนฟันซี่นั้นไป
อาการข้างเคียงของการรักษารากฟัน
- อาการปวดหลังการรักษารากฟัน แต่จะค่อยๆหายใน 1-3 วัน หากมีอาการปวดมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ แต่หากมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น แนะนำให้รีบเข้าพบทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อตรวจดูสาเหตุค่ะ
- อาการชา หลังจากการรักษารากฟัน จะอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ช่วงนี้ควรงดการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการกัดถูกกระพุ้งแก้ม หรือกัดลิ้นได้
รักษารากฟันที่ไหนดี
การรักษารากฟัน เป็นอีกหนึ่งการรักษาที่จำเป็นต้องรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทางรักษาคลองรากฟัน เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งหัตถการที่ต้องทำต่อเนื่อง
ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งลักษณะของรากฟัน ความเป็นไปได้ของการบูรณะฟันถาวร หลังการรักษารากฟัน ดังนั้นคนไข้จึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เฉพาะทางรักษาคลองรากฟันโดยตรง เพื่อรับคำแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ซึ่งทางคลินิกทันตกรรมสีวลี มีทันตแพทย์เฉพาะทางรักษาคลองรากฟันพร้อมให้คำแนะนำและรักษาคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดค่ะ
- ควรเลือกคลินิกที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีเครื่องมือทางทันตกรรมที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์
- ควรเลือกคลินิกที่ใกล้บ้าน หรือเดินทางสะดวก เนื่องจากการรักษารากฟันนั้น เป็นหัตถการที่ต้องทำต่อเนื่อง บางรายต้องมาพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้ง จึงควรเลือกคลินิกที่สามารถเดินทางเข้ามาพบทันตแพทย์ได้สะดวก เพื่อความรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
- ควรเลือกคลินิกที่มีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาคลองรากฟันโดยเฉพาะ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและตรงจุดค่ะ
คำถามที่พบบ่อย
รักษารากฟันนานไหม
การรักษารากฟันคุณหมอจะพิจารณาเป็นเคสๆไป บางเคสเป็นแค่เล็กน้อย ก็จะมาแค่ 1-2 ครั้ง แต่บางเคสอาจต้องมา 2-3 ครั้ง ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ อยู่ที่ว่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียกินเนื้อฟันเข้าไปลึกเท่าไหร่ และมีแบคทีเรียมากแค่ไหน หลังจากรักษารากฟันแล้วก็มาปรึกษาคุณหมอครอบฟันต่อค่ะ
รักษารากฟันจัดฟันได้ไหม
ในกรณีที่คนไข้รักษารากฟัน สามารถจัดฟันได้ค่ะ แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษารากฟันให้เสร็จเสียก่อนถึงจะเริ่มจัดฟันได้ เพราะหากมีฟันที่ติดเชื้อ อาจส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของฟัน และจะยิ่งจะส่งผลเสียต่อฟันซี่นั้นมากยิ่งกว่าเดิมค่ะ
หากสนใจในเรื่อง ประเภทของการจัดฟัน สามารถกด ที่นี่ ได้ค่ะ
ฟันผุแบบไหนต้องรักษารากฟัน
ฟันผุที่จำเป็นต้องรักษารากฟัน จะเป็นฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันร้าว ฟันที่แตกหัก หรือสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน หรือแม้แต่ฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันค่ะ
รักษารากฟันกับใส่ฟันปลอมต่างกันไหม
การรักษารากฟัน จะเป็นขบวนการรักษาและซ่อมแซมฟันที่ติดเชื้อ รากฟันอักเสบ จากอาการฟันผุทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน เพื่อคงรักษาฟันธรรมชาติซี่นั้นๆไว้ แทนการถอนเพื่อให้ฟันนั้นกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ซึ่งกระบวนการรักษาจะต่างกันกับการใส่ฟันปลอม เพราะการใส่ฟันปลอม นั่นหมายถึงการที่จะต้องสูญเสียฟันธรรมชาติ ซี่นั้นไปแล้ว และถูกทดแทนด้วยการใส่ฟันปลอม เพื่อให้สามารถใช้งานด้านการบดเคี้ยว ได้อย่างเช่นการใช้ฟันปกติค่ะ
รักษารากฟันแล้วฟันดําทำอย่างไร
หลังจากการรักษารากฟัน ในบางรายฟันอาจมีสีที่คล้ำขึ้นเนื่องจากรากฟันที่อักเสบ หรือมีเลือดออกในคลองรากฟันระหว่างการรักษา หากฟันมีสีคล้ำขึ้นหรือฟันดำ สามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีฟันเฉพาะซี่ การทำวีเนียร์ หรือการทำครอบฟันค่ะ
รักษารากฟัน เจ็บไหม
การรักษารากฟันเจ็บไหม ในการรักษารากฟันนั้นจะเป็นการแก้ไขการอักเสบของฟัน ซึ่งอาจรู้สึกเจ็บได้เป็นปกติค่ะ แต่ความเจ็บนั้นจะอยู่ในระดับที่ทนไหว ซึ่งทันตแพทย์จะใช้ยาชา เพื่อช่วยลดความเจ็บในขณะทำหัตถการให้กับคนไข้ด้วยค่ะ
สรุป
รากฟัน ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญมากๆ ของฟัน เพราะหากเราไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี ปล่อยปะละเลยให้เกิดฟันผุ แล้วไม่รีบเข้ามารักษา จนอาการรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบจนต้องรักษารากฟัน หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียฟันได้เลยนะคะ รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน และควรเข้ามาตรวจเช็คสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจดูฟันผุ และรับการรักษาก่อนที่ฟันจะเสียหายเกินกว่าจะรักษาไว้ได้นะคะ