จะยิ้มได้อย่างไร หากฟันหน้านั้นหายไป ฟันเป็นประตูด่านแรกของรอยยิ้ม แต่หากสูญเสียฟันแท้ไป จะทำอย่างไร? จะใส่แบบถอดเข้า ถอดออกก็กลัวคนจะเห็น
การรักษาด้วยรากฟันเทียม เลยถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่คนไข้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ด้วยรากฟันเทียมถือเป็นฟันปลอมที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด ด้วยวิทยาการที่ทันสมัย มีการออกแบบและใช้วัสดุที่สามารถทดแทนรากฟันที่จะฝังลงไปในกระดูกได้ ทำให้รากฟันเทียมแข็งแรงและคงอยู่ในปากของเราได้ ทำให้เราไม่ต้องถอดเข้าออก แถมกลมกลืนไปกับฟันธรรมชาติข้างเคียงอีกด้วย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
รากฟันเทียม คือ
รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ฝังลงในกระดูกขากรรไกรเพื่อทดแทนส่วนที่เป็นรากฟันธรรมชาติ ที่สูญเสียไป
โดยรากฟันเทียมโดยทั่วไปในปัจจุบันนั้น ทำจากโลหะผสมไทเทเนียมซึ่งมีความแข็งแรงสูง สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ดี และทนต่อแรงบดเคี้ยวได้มาก มีรูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอกคล้ายรากฟันธรรมชาติ และมีเกลียวรอบๆ โดยเมื่อฝังลงในกระดูกแล้ว เซลล์กระดูกจะยึดเกาะกับผิวรากฟันฟันเทียม
ทำให้รากฟันเทียมมีความแข็งแรง และสามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้เหมือนกับฟันธรรมชาตินั่นเอง
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม
รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วน นั้นก็คือ
รากเทียม
รากฟันเทียม (Fixture) เป็นส่วนที่ฝังลงในกระดูกขากรรไกร ทำจากโลหะผสมไทเทเนียม มีรูปร่างทรงกระทองและมีเกลียวโดยรอบ ใช้ฝังให้เซลล์กระดูกยึดเกาะกับผิวรากฟัน เพื่อความแข็งแรง และความสามารถในการรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี
ครอบฟัน
ครอบฟัน (Crown) เป็นตัวฟันเทียม มีทั้งแบบโลหะ และแบบเซรามิกที่มีความแข็งแรง ความสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร และออกเสียง
เดือยรองครอบฟัน
เดือยฟัน (Abutment) เป็นตัวที่เป็นหลักยึด คอยยึดรากฟันเทียมเข้ากับตัวครอบฟัน(ฟันปลอม)
รากฟันแท้ กับรากฟันเทียม ต่างกันอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วรากฟันธรรมชาติย่อมต้องดีกว่ารากฟันเทียมอยู่แล้ว แต่เมื่อเราสูญเสียฟันแท้ไป จึงจำเป็นต้องมีรากฟันใหม่เพื่อเข้ามาทดแทนรากฟันซี่เก่า เพื่อให้เรานั้นสามารถกลับมาใช้งานด้านการบดเคี้ยวได้ตามปกติ
โดยรากฟันธรรมชาตินั้น จะยึดอยู่กับกระดูกด้วยเอ็นยึด สามารถขยับได้เล็กน้อยเมื่อทำการบดเคี้ยว และมีเส้นประสาทมารับความรู้สึกทำให้เรามีความรู้สึกในขณะที่เราเคี้ยวอาหาร
ส่วนรากฟันเทียมนั้น จะยึดกับกระดูกขากรรไกรอย่างแน่นหนา ไม่ขยับแม้มีแรงบดเคี้ยว จึงไม่เกิดความรู้สึกเหมือนกับรากฟันธรรมชาติในราเคี้ยวอาหาร ซึ่งความแตกต่างนี้คนไข้ส่วนใหญ่ที่ฝังรากเทียมไปมักไม่รู้สึกว่าต่างไปจากเดิม มีเพียงบางรายเท่านั้นที่อาจจะรู้สึกได้
การทำรากฟันเทียมมีกี่แบบ
รากฟันเทียม 1 ซี่
รากฟันเทียมรองรับครอบฟัน (Implant Supported Crown): ในกรณีที่สูญเสียฟันแท้ไป 1 ซี่ ก็จะเป็นการทำรากฟันเทียม 1 ราก เพื่อรองรับฟันเทียม (ครอบฟัน) 1 ซี่
รากฟันเทียม หลายซี่
รากฟันเทียมรองรับสะพานฟัน (Implant Supported Bridge) : หากมีการสูญเสียฟันแท้ไปมากกว่า 1 ซี่ ก็สามารถทำรากฟันเทียมซี่ต่อซี่ได้ หรือทำเป็นสะพานฟันแบบใช้รากฟันเทียม 2 ราก เพื่อรองรับฟันเทียม (ครอบฟัน) 3 ซี่ก็ได้
ทันตกรรมรากฟันเทียมทั้งปาก
รากฟันเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปาก (Implant Supported Denture) : ในกรณีที่สูญเสียฟันแท้ไปทั้งปากนั้น โดยทั่วไปจะใช้รากฟันเทียมประมาณ 2-4 ราก เพื่อช่วยในการยึดเกาะฟันเทียม (ครอบฟัน) ให้แน่นขึ้น โดยฟันเทียมรูปแบบนี้ คนไข้จะต้องถอดออกเพื่อทำความสะอาด และถอดพักในช่วงเวลานอน คล้ายกับฟันปลอมถอดได้ทั่วไป แต่จะมีความแน่น ไม่กระดก และสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมั่นใจมากกว่าฟันปลอมแบบปกติทั่วไป
ทำไมต้องทำรากฟันเทียม
- เมื่อสูญเสียฟันธรรมชาติไป หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่ข้างเคียง ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มเข้าหาส่วนที่เป็นช่องว่าง
- หากสูญเสียฟันธรรมชาติบริเวณซี่หน้าไป อาจทำให้การออกเสียงไม่ชัดเจน การทำรากฟันเทียมจะช่วยให้คนไข้กลับมาพูดและออกเสียงได้ชัดขึ้น
- ช่วยลดปัญหาเศษอาหารติดตามซอกฟัน ที่อาจจะก่อให้เกิดฟันผุและมีกลิ่นปาก
- หากปล่อยทิ้งไว้ ฟันคู่สบบริเวณที่สูญเสียฟันไป จะยื่น ทำให้เกิดการกระแทกเหงือกเป็นแผลได้ในอนาคต
- รากฟันเทียมสามารถทำได้ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเต็มที่พอที่จะสามารถใส่รากฟันเทียมได้แล้ว
บทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
- มีความสวยงาม สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ
- รากฟันเทียมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหาร เมื่อเทียบกับฟันปลอมชนิดอื่นๆ
- รากฟันเทียมช่วยคงสภาพของกระดูกขากรรไกร
- มีความสะดวกสบายกว่าการใส่ฟันปลอมชนิดอื่นๆ
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คุ้มค่าต่อการรักษา
- ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น
ข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
รากฟันเทียมสามารถทำได้ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเต็มที่พอที่จะสามารถใส่รากฟันเทียมได้แล้ว
รากฟันเทียม มีกี่ยี่ห้อ
รากฟันเทียมในปัจจุบัน มีให้เลือกใช้หลากหลายยี่ห้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Straumann, Astratech, Hiossen, หรือ Dentium รากเทียมแต่ละยี่ห้อ สามารถใช้งานได้เหมือนกันค่ะ รากเทียมที่ทางคลินิกเลือกมาใช้เป็นรากเทียมที่เลือกมาแล้วว่าได้รับการยอมรับทั้งในไทยและระดับโลก
ส่วนจะใช้ยี่ห้อไหน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคนไข้และความเหมาะสมในการใช้งาน ตรงส่วนนีจะแนะนำให้คนไข้เข้ามาปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อเลือกตามความเหมาะสมจะดีที่สุดค่ะ ส่วนราคาที่ค่อนข้างแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อนั้น อยู่ที่ประวัติในการผลิตและการพัฒนาที่ยาวนานกว่าค่ะ
รากฟันเทียม ฟันปลอม และสะพานฟัน ต่างกันอย่างไร
รากฟันเทียม ถือเป็นฟันปลอมชนิดหนึ่ง โดยเป็นฟันปลอมแบบติดแน่น และนอกเหนือจากรากฟันเทียมแล้ว ยังมีวิธีการทดแทนฟันธรรมชาติด้วยการทำฟันปลอมแบบอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็น การทำสะพานฟัน หรือการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้นั้นเอง
ฟันปลอม
ฟันปลอมแบบถอดได้ ถือเป็นชนิดฟันปลอมที่คนทั่วไปใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง มีทั้งแบบฐานพลาสติกและฐานโลหะให้เลือกตามความเหมาะสม ด้วยมีราคาที่ไม่สูงมาก สามารถถอดออกได้ ง่ายต่อการทำความสะอาด แต่ข้อเสียคือ ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะน้อยกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆ และเมื่อใช้นานไปอาจเกิดปัญหาหลวมหรือหลุดในการใช้งานได้
สะพานฟัน
สะพานฟัน เป็นฟันปลอมชนิดติดแน่นอีกชนิดหนึ่ง โดยใช้วิธีการกรอฟันซี่ข้างเคียงทั้ง 2 ข้างเพื่อใช้ยึดติดกับตัวครอบฟัน เป็นฟันปลอมอีกรูปแบบที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารสูง และมีความสวยงาม แต่มีข้อเสียคือต้องแลกมากับฟันซี่ข้างเคียงที่ต้องเสียไป เนื่องจากต้องกรอฟันทั้ง 2 ข้างนั้นให้เล็กลงเพื่อรองรับตัวครอบฟัน และยังต้องรักษาความสะอาดของฟันเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ หากทำความสะอาดไม่ทั่วถึง อาจเกิดฟันผุใต้ครอบฟัน จนอาจลุกลามทำให้ต้องถอนฟันได้ในที่สุด
การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม
- เข้ารับการปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจประเมินและวางแผนการรักษา ตรวจดูกระดูกรองรับรากฟันเทียม หากมีโรคประจำตัวหรือทานยาประจำ แนะนำให้แจ้งทันตแพทย์เพื่อใช้ประกอบในการวางแผน
- ทันตแพทย์ประเมินค่าใช้จ่าย แจ้งขั้นตอนการรักษา
- วันทำการฝังรากเทียม แนะนำให้รับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการรักษา และไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป
- หลังจากฝังรากฟันเทียมเสร็จจะต้องงดทานอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อรอให้เลือดหยุดไหลก่อน
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
- ตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษา โดยแพทย์เฉพาะทาง : ทันตแพทย์จะตรวจสอบประวัติ ตรวจภายในช่องปาก เอกซเรย์ฟันเพื่อประกอบในการวางแผนการรักษา หลังจากนั้นทันตแพทย์จะอธิบายรายละเอียดของการรักษาให้คนไข้ทราบ เพื่อให้คนไข้ใช้ในการตัดสินใจ
- ปลูกรากฟันเทียม และรอประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้กระดูกยึดติดกับรากฟัน : เมื่อฝังรากฟันเทียมเป็นระยะเวลา 8-24 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายสร้างกระดูกเพื่อมายึดกับรากฟันเทียม และเมื่อเหงือกแข็งแรงดีแล้ว ทันตแพทย์จะนัดเพื่อเริ่มใส่ตัวครอบฟันในลำดับถัดไป
- เตรียมสำหรับการใส่ครอบฟัน : ทันตแพทย์จะนัดเข้ามาพิมพ์ปากเพื่อสร้างตัวครอบฟัน ที่พอเหมาะ และสวยงามให้แก่คนไข้
- ทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมแบบถอดได้ : เมื่อทำตัวครอบฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะนัดกลับมาอีกครั้งเพื่อใส่ตัวครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมแบบถอดได้ ให้แก่คนไข้ และจะนัดกลับมาตรวจเป็นระยะๆตามความเหมาะสม
ระยะเวลาในการทำ
รากฟันเทียม จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ฝังรากฟันเทียม จนถึงวันที่ใส่ครอบฟัน แต่ในกรณีที่มีความยาก สลับซับซ้อน เช่นมีการเสริมกระดูกร่วมด้วย อาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นตามความเหมาะสม
อาการข้างเคียงที่เกิดจากการทำรากฟันเทียม
- ในช่วงแรกจะมีอาการปวด บวมบริเวณเหงือกและใบหน้า
- ในบางรายอาจมีอาการฟกช้ำบริเวณผิวหนังและเหงือก
- อาจมีเลือดออกเล็กน้อยบริเวณแผลที่ทำการฝังรากเทียม
- หลังจากได้รับการฝังรากฟันเทียมแล้ว คนไข้ผู้จะได้รับยาปฎิชีวนะและยาระงับปวด
- หากมีอาการปวด บวม ติดต่อกันนานหลายวัน แนะนำให้ติดต่อกลับมาทางคลินิกเพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบให้ค่ะ
แนวทางการปฏิบัติตัวหลังจากการทำรากฟันเทียม
- หลังทำ 1-5 วัน ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อบริเวณที่ทำการรักษา
- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
- งดออกกำลังกายหลังการผ่าตัด
- อาการบวมเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากรู้สึกผิดปกติให้เข้าพบทันตแพทย์ทันที
- ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ ช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
อาหารที่ควรเลี่ยง
ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่หลังจากการทำรากฟันเทียม และควรงดอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้รากฟันเทียมที่เพิ่งทำไปเกิดปัญหาหรืออาจหลุดออกมาได้ และในช่วงแรกควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัด เพราะอาจจะทำให้เกิดการอักเสบหรือทำให้แผลหายช้าได้ค่ะ
การดูแลรักษารากฟันเทียม
การดูแลรักษารากฟันเทียมให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานนั้น คนไข้จำเป็นต้องดูแลสุขภาพเหงือกและกระดูกรอบรากฟันเทียมให้มีสุขภาพดี โดยการแปรงฟันให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอและคอยกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกเหงือกซอกฟันอย่างเป็นประจำ เพื่อป้องกันการอักเสบและอาจส่งผลเสียต่อกระดูกที่ยึดรากฟันในอนาคตค่ะ
การทำความสะอาด
โดยหลังจากการปลูกรากฟันเทียมเรียบร้อยแล้ว คนไข้สามารถดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันได้เหมือนการดูแลปกติทั่วไป ด้วยการแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟันค่ะ และควรเข้ารับการเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
ซึ่งรากฟันเทียมนี้ หากเราดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และเข้าพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่กล่าวมาแล้ว รากฟันเทียมนี้ก็จะสามารถมีอายุการใช้งานได้เสมือนฟันแท้ซี่อื่นๆ เช่นกันค่ะ
การทำรากฟันเทียม ราคา
ราคารากฟันเทียมปกติ
รายการ | ราคา |
รากฟันเทียม Dentium (เกาหลี) | 45,000 บาท |
รากฟันเทียม Hiossen (อเมริกา) | 55,000 บาท |
รากฟันเทียม Astra Tech (สวีเดน) | 65,000 บาท |
รากฟันเทียม Straumann (สวิสเซอร์แลนด์) | 75,000 บาท |
คำถามที่พบบ่อย
ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม
การทำรากฟันเทียมนั้น ทันตแพทย์จะเริ่มทำเมื่อยาชานั้นออกฤทธิ์แล้ว คนไข้จึงจะไม่รู้สึกเจ็บแล้ว และหลังจากการทำรากฟันเทียมเสร็จ ส่วนใหญ่คนไข้จะมีอาการเจ็บแค่ในช่วงวันแรก และจะลดลงในวันถัดไปค่ะ ซึ่งคนไข้สามารถบรรเทาอาการปวดได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด ตามที่ทันตแพทย์แนะนำนะคะ
อายุการใช้งานของรากฟันเทียม
รากฟันเทียม ถือเป็นฟันปลอมชนิดหนึ่งที่มีความแข็งแรง สวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานกว่า 10 ปี
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการทำความสะอาดและการดูแลสุขภาพช่องปากของคนไข้หลังทำรากฟันเทียมด้วย หากเราดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และเข้าพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รากฟันเทียมนี้ก็จะสามารถมีอายุการใช้งานได้เสมือนฟันแท้ซี่อื่นๆเลยค่ะ
รากฟันเทียมอักเสบทำอย่างไร
ที่สำคัญไม่ควรใช้ฟันกระทบกับสิ่งแปลกปลอม และหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้งควรจะบ้วนน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากชนิดอ่อนเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก และไม่เพิ่มแบคทีเรียบริเวณรากฟันเทียม แต่หากเกิดอาการอักเสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพบทันตแพทย์ทันที
ทำรากฟันเทียมแล้วจัดฟันได้ไหม
ในส่วนนี้ทันตแพทย์อาจจะต้องตรวจประเมินก่อนว่ารากฟันเทียมที่ทำนั้นอยู่ในตำแหน่งที่มีผลต่อการเคลื่อนของฟัน หากทำการจัดฟันหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้จัดฟันให้เสร็จก่อน แล้วจึงค่อยมาทำรากฟันเทียมต่อ เนื่องจากรากฟันเทียมนั้นจะไม่มีการเคลื่อนที่ได้เหมือนฟันธรรมชาติค่ะ
รากฟันเทียมหลุดทำอย่างไร
โดยปกติแล้วการทำรากฟันเทียมจะเป็นการใส่รากฟันเทียมเข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างกระดูกขึ้นมายึด
ติดกับตัวรากฟันเทียม ให้รากเทียมนั้นมีความแข็งแรง ใช้งานในการบดเคี้ยวได้ตามปกติ
แต่ในบางกรณีที่เราเรียกกันว่ารากฟันเทียมหลุดนั้น ก็คือการที่กระดูกไม่สามารถสร้างขึ้นมายึดเกาะกับตัวรากฟันเทียมที่ทันตแพทย์ฝังไว้ได้เหมือนปกติ
โดยหากเป็นเช่นนี้ ทันตแพทย์จะต้องนัดคนไข้เพื่อเข้ามาตรวจประเมินดูว่าจะต้องทำการนำรากฟันเทียมตัวเก่าออกแล้วใส่รากฟันเทียมตัวใหม่ทดแทน หรือจำเป็นจะต้องได้รับการปลูกกระดูกก่อน แล้วจึงค่อยทำนัดเพื่อเข้ามาใส่ตัวรากฟันเทียมใหม่อีกครั้งค่ะ
สรุป
การสูญเสียฟันธรรมชาติไป ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆตามมามากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเคี้ยวอาหาร และปัญหาการเรียงตัวของฟันที่อาจจะตามมา รวมถึงบุคลิกภาพที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ขาดความมั่นใจอีกด้วย การทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปนั้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาที่จะช่วยคืนรอยยิ้มที่สวยงาม พร้อมประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารให้กับคนไข้ได้
ทางคลินิกทันตกรรมสีวลีของเรามีทันตแพทย์เฉพาะทางที่จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำ และวางแผนการรักษาการทำรากฟันเทียมให้กับคนไข้ ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันตสมัยพร้อมให้บริการแก่คนไข้ทุกท่านค่ะ สามารถนัดปรึกษาทันตแพทย์ผ่านช่องทาง Line และ Facebook ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย